บ้านฮวงจุ้ย : Fengshuihut
|
วิธีแลกลิงค์ :
คัดลอกโค้ดข้างล่างนี้ไปใส่ไว้ในเว็บของท่าน
ส่งเมล์บอกลิงค์ของท่านมาที่
admin@fengshuihut.com |
Web page counter
ประวัติอาจารย์ |
ประวัติอาจารย์หยังกง |
ประวัติอาจารย์จางจื่อน่ำ |
ประวัติอาจารย์ เซ้าคังเจี๋ย |
บทความของอาจารย์ท่านอื่นๆ |
บทความ อ.เชียร บางบอน |
บทความ อ.ฮิม เมืองเลย |
รวมลิงค์ |
sanook.com |
payakorn.com |
meesook.com |
hunsa.com |
pantip.com |
|
เทศกาล
สารทจีนเป็นเทศกาลไว้เจ้าประจำเดือน 7 วันที่ 15 เรียกไหว้เทศกาลนี้ว่า ตงง้วงโจ่ย เป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ของปี การไหว้สารทจีนจะมีพิเศษกว่าการไหว้ครั้งอื่น ๆ ว่ามีการไหว้ขนมเข่ง ขนมเทียน นอกจากจะเป็นการไหว้เจ้าที่กับไหว้บรรพบุรุษแล้ว บางบ้านยังถือโอกาสนี้ไหว้ให้แก่ต้นตระกูลจีน หรือคนจีนที่มาเมืองไทยรุ่นบุกเบิก แล้วเสียชีวิตโดยไม่มีลูกหลานสืบสกุล จึงไม่มีคนไหว้ให้ ถ้าพูดหยาบก็ต้องว่า ผีไม่มีญาติ แต่ถ้าจะกล่าวให้น่าฟัง ก็คือ ต้นตระกูลจีน มีคำจีนเรียกว่า ไป๊ฮ้อเฮียตี๋
นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่องหนึ่ง ในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเสี้ยงหงอ (บ้างก็เรียกฉางอี้) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ ภายหลัง นางกลายเป็นอมตะ หลังจากที่ ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่า นางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาล เพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลง มาบนพื้นโลก และนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล เพื่อเป็นการแสดงความ กตัญญูต่อ นางจันทรเทพธิดา ชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนาง ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ของจีนเป็นประจำทุกปี เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่างๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวข้องกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้ก อย่างเช่น ของชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีน อพยพมากว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัด และลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำ เพราะว่า คนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้ง และ เครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นหญิงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ ไปจนกระทั่งขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เราจะเห็นธงสีเหลืองมีตัวหนังสือสีแดง ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปตามร้านอาหาร 2 ข้างถนน นั่นบ่งบอกให้รู้ว่า เป็นช่วงเวลาของเทศกาลกินเจ ถ้าสังเกตดูให้ดีในแต่ละปีนั้น ดูเหมือนว่าความหนาตาของธงเจที่ปรากฏจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อ แต่ "เจ" นั้นมีที่มาอย่างไร การกินแบบไหนจึงจะเรียกว่า "กินเจ" หรือแค่เพียงไม่รับประทานอาหาร ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ ถ้าเช่นนั้นการกินเจแตกต่างกันอย่างไรกับการกินมังสวิรัติ รวมทั้งข้อสงสัยที่ว่า ทำไมเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต ถึงไม่ได้เป็นช่วงขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 หาคำตอบได้ในบทความพิเศษชิ้นนี้ เทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ตามตำนานเล่าว่า เกิดมาในสมัยที่ชาวจีนถูกรุกรานโดยชนชาติแมนจู ซึ่งเข้าปกครองประเทศจีน และบังคับให้ชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตน อาทิ การไว้ทรงผมเยี่ยงแมนจู คือ โกนศีรษะโล้นทางด้านหน้าและไว้ผมยาวทางด้านหลัง ซึ่งหลายคนคงจะชินตาในภาพยนตร์จีนที่นำมาฉายทางทีวี ในสมัยนั้น มีคนจีนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านชาวแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้ามาร่วมด้วย ชาวจีนกลุ่มนี้ นุ่งขาว ห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งมีความเชื่อว่า การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มของตนจนสามารถต้านทานชาวแมนจูได้ คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งแม้จะได้ต่อสู้อย่างอาจหาญ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานการรุกรานของชาวแมนจูได้ เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น ความเชื่อถืออีกกระแสหนึ่งของตำนานการกินเจนั้น เชื่อกันว่าเป็นการสักการะพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ในพิธีกรรมนี้ สาธุชนจึงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล โดยการตั้งปณิธานในการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อเป็นการสมาทานศีล 2 ประการ คือ 1. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน 2. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน 3. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่ พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม อาจเนื่องจากการแพร่หลายของกการละเว้นการกินเนื้อวัว ในกลุ่มคนที่นับถือ "เจ้าแม่กวนอิม" การกินเจ จึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อสักการะ "เจ" ในภาษาจีนมีความหมายว่า "อุโบสถ" เป็นคำแปลทางพุทธสาสนา นิกายมหายาน การกินเจนั้นแต่เดิมหมายความถึง "การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน" ตามแบบอย่างของพระพุทธศาสนา เราจะเห็นตัวอย่างชาวพุทธรักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ด้วยการไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงไปแล้วเช่นเดียวกับพระภิกษุ แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย จึงนิยมเรียกการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกับการกินเจ จนถึงปัจจุบัน ผู้ที่รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ความหมายของการกินเจ จึงหมายถึงการรักษาศีล ปฏิบัติธรรมทั้งกาย วาจา และใจ ไม่ใช่หมายความเพียงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์เท่านั้น การปฏิบัติธรรมร่วมไปด้วยจึงจะครบเป็น "การถือศีล-กินเจ" อย่างแท้จริง อักษรแดง บนพื้นเหลือง เขียนว่า "ไจ" หรือ "เจ" มีความหมายว่า "ของไม่มีคาว" สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตน "ถือศีล-กินเจ" ได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เมื่อตั้งมั่นที่จะปฏิบัติศีลและกินเจ ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืนนี้แล้ว ก็ควรจะศึกษาข้อห้ามต่างๆ ที่บัญญัติไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีข้อปฏิบัติดังนี้ · งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์ · งด นม เนย หรือน้ำมันที่มาจากสัตว์ · งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก · งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน · รักษาศีล 5 · รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่ · ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ "ถือศีล-กินเจ" แล้วยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ "อาหารเจ" นั้นบริสุทธิ์จริงๆ บางคนจะมีการคัดแยกภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใช้ปรุงอาหาร แยกจากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวง ไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลาการกินเจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา ปัจจุบันมีการยอมรับกันโดยทั่วไปถึงคุณค่าของ "อาหารเจ" เนื่องจากการรับประทานพืชผักในปริมาณที่มากกว่าปกติ งดเว้นเนื้อสัตว์ ทำให้กระเพาะได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่ และได้รับวิตามินเข้าไปเสริมสร้าง ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งได้โปรตีนจากถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากโปรตีนที่เราได้รับจากเนื้อสัตว์ ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนจากการรับสารอาหารย่อยยากจากแหล่งอาหารต่างๆ รวมทั้งยังได้รับพลังใจจากการที่ปฏิบัติตัวอยู่ในศีล ทำให้จิตใจอิ่มเอิบ เบาสบาย หลายคนคิดว่า การรับประทานแต่อาหารเจจะทำให้เกิดโรคขาดอาหาร ทั้งที่สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคขาดอาหารนั้น มาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลัก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่กินเนื้อสัตว์และกินเจ ซึ่งมีนิสัยการบริโภคที่ไม่คำนึงถึงคุณค่าของสารอาหารที่ได้รับ คนที่กินเจอย่างถูกหลักก็จะได้รับอาหารที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ การประกอบอาหารเจเพื่อรับประทานในช่วงนี้ จึงสามารถเลือกอาหารพวก ข้าวกล้อง (ใช้แทนข้าวขาว) โปรตีนเกษตร (แทนเนื้อสัตว์) ผักสด เห็ดหอม ถั่วนานาพันธุ์ เต้าหู้ แป้งหมี่กึง ทดแทน และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำเป็นอาหารชนิดต่างๆ อาหารมังสวิรัติ คือ อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกับอาหารเจ แต่หากเป็นมังสวิรัตินั้น สามารถนำผักทุกชนิดมาประกอบอาหารได้ แต่อาหารเจ ต้องงดเว้นผักฉุน 5 ประเภท (ดังที่กล่าวมาแล้ว) รวมทั้งของเสพติดทุกชนิด และยังคงต้องประพฤติศีลร่วมด้วย จึงจะเป็นการ ถือศีล-กินเจ ที่แท้จริง ในขณะที่มังสวิรัติ หมายรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์เท่านั้น การกินเจ นอกจากจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างบุญกุศลด้วยการละ เลิก เพื่อชีวิตแล้ว ในแง่ของสุขภาพร่างกายก็พลอยได้รับประโยชน์ร่วมด้วย เพราะถือเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ร่างกายมีโอกาสพักผ่อน จากการย่อยอาหารประเภทที่ย่อยยากทั้งหลาย "เจ" ที่ภูเก็ตมาจากรากฐานความเชื่อเดียวกัน คนจีนเรียก "เจเดือนเก้า" แต่ถ้านับตรงกับเดือนไทยก็จะได้ตรงกับเดือน 11 เทศกาลกินเจที่ภูเก็ตจึงมีขึ้นหลังเทศกาลกินเจทั่วๆ ไป บางครั้งเราจึงมักได้ยินเชื่อเรียกของเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต ว่าเป็นเทศกาลกินผัก ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือการกินเจในรูปแบบและระยะเวลา 9 วันเช่นเดียวกัน ความเชื่อเกี่ยวกับการกินเจที่ชาวภูเก็ตเล่าสืบต่อกันมาว่า มีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้ แล้วบังเอิญเกิดโรคระบาด คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้น ปรากฏว่าโรคระบาดก็หายไปสิ้น ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสจึงปฏิบัติตาม นับเนื่องจากนั้นมีผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ชาวกระทู้จึงอยากให้พิธี "กินเจ" ของตนสมบูรณ์แบบ ตามแบบพิธีในมณฑลกังไส จึงได้ส่งตัวแทนไปนำเอาควันธูปกลับมา โดยการตั้งมั่นที่แรงกล้า เพราะพิธีการนำควันธูปกลับมานั้น ต้องจุดธูปต่อกันมิให้มอดดับได้ ศาลเจ้ากระทู้จึงเป็นศูนย์กลางของเทศกาลการกินเจที่ภูเก็ตเรื่อยมา จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ 9 วันแห่งพิธีกรรมของการกินเจที่ภูเก็ต กลางคืนวันที่หนึ่ง จะมีพิธียกเสา "โกเด้ง" ขึ้นที่หน้าศาลเจ้า หรืออ๊าม เพื่อใช้เป็นที่แขวนตะเกียงทั้ง 9 ดวง และอัญเชิญดวงวิญญาณของยกอ๋องฮ่องเต้ หรือ พระอิศวร และ กิวอ๋องไตเต หรือ ราชาผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า มาประทับ เช้าวันรุ่งขึ้นมีการจุดธูปขนาดใหญ่ ตั้งเครื่องเซ่นและเผาไม้หอม เพื่อบูชาเจ้าประจำอ๊าม หลังพิธีการกินเจ หรือชาวภูเก็ตเรียก "การกินผัก" ผ่านไป 3 วัน จะถือว่าตัวเองมีความสะอาดแล้ว หรือเรียกว่า "เช้ง" ในตอนค่ำมีพิธีการเชิญเจ้าเข้าทรงอีก 2 องค์ คือ "ลำเต้า" เจ้าผู้สำรวจคนเกิด และ "ปักเต้า" เจ้าผู้สำรวจคนตาย และทำพิธี "ปั้งกุ้น" หรือพิธีปล่อยพระ หรือการจัดทหารของเจ้าไปรักษาศาลเจ้าทั้ง 5 ทิศ เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย และภูตผีมาทำลายพิธี ความสนุกสนานเริ่มขึ้นตรงนี้ เมื่อการเชิญทหารเต็มไปด้วยร่างทรงของตัวละคร อาทิ เห้งเจีย บู๊สง เป็นต้น ในวันที่เจ็ด เริ่มพิธี บูชาดาว เพื่อขอความเป็นสิริมงคล รักษาโรคภัยไข้เจ็บ สองวันสุดท้าย เป็นความตื่นเต้นท้าทาย เมื่อมีการจัดขบวนพิธีแห่อย่างมโหฬาร เพื่อนำเกี้ยวไปรับพระจำหลักที่สะพานหิน เป็นการระถึงวันที่ควันธูปจากมณฑลกังไสมาถึงภูเก็ต ในขบวนแห่จะมีการแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง หรือ คนทรงเจ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จะเห็นภาพของการใช้ของมีคมต่างๆ ทิ่มแทงตามร่างกาย มีทั้งง้าว ลูกตุ้มเหล็กฟาดหน้าฟาดหลัง เอาขวานจามหลัง หรือเอาเหล็กแหลมทิ่มแทงร่างกาย หรือแทงลิ้น จนกระทั่งเฉือนลิ้นตัวเองออกมา โดยท้าทรงเหล่านั้นอ้างว่าไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ขณะเป็นร่างทรง ม้าทรงจะเดินเต้น ไปทั่วเมือง ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้เพื่อให้เจ้าไปโปรดและมีการจุดประทัดตลอดเส้นทาง ทั้งเกาะปกคลุมด้วยควันธูปและประทัด วันที่เก้า จะมีพิธีศักดิ์สิทธิ์ คือ พิธี "โก๊ยโห้ย" หรือพิธีลุยไฟสะเดาะเคราะห์ ม้าทรง หรือเจ้าจะเดินผ่านกองไฟ ที่มีถ่ายร้อนแดงเป็นระยะทางกว่า 2 ฟุต และตามด้วยผู้ที่ถือศีลกินเจที่มีความมั่นใจว่าตัวเองสะอาดแล้ว ก็สามารถร่วมลุยไฟได้ด้วยเช่นกัน ในตอนกลางคืนจะมีพิธีปีนบันไดมีด สูงประมาณ 12 เมตร และจบลงที่ยามดึกของคืนวันที่ 9 จะมีการแห่พระไปส่งทะเลบริเวณสะพานหิน และนำเสาโกเต้งลงดับโคมไฟทั้ง 9 เป็นเสร็จพิธีกินเจที่ภูเก็ต กินเจ ที่ภูเก็ต ออกไปในแนวสนุกสนาน ตื่นเต้น ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ แต่หลายคนที่ไปดูด้วยตาตนเอง ยังพกความตื่นตาตื่นใจ เป็นประสบการณ์มาถึงปัจจุบัน และเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมการกินเจอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มา : งานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศกาลเช็งเม้ง ( การไหว้บรรพบุรุษ ) |