บ้านฮวงจุ้ย : Fengshuihut
|
วิธีแลกลิงค์ :
คัดลอกโค้ดข้างล่างนี้ไปใส่ไว้ในเว็บของท่าน
ส่งเมล์บอกลิงค์ของท่านมาที่
admin@fengshuihut.com |
Web page counter
ประวัติอาจารย์ |
ประวัติอาจารย์หยังกง |
ประวัติอาจารย์จางจื่อน่ำ |
ประวัติอาจารย์ เซ้าคังเจี๋ย |
บทความของอาจารย์ท่านอื่นๆ |
บทความ อ.เชียร บางบอน |
บทความ อ.ฮิม เมืองเลย |
รวมลิงค์ |
sanook.com |
payakorn.com |
meesook.com |
hunsa.com |
pantip.com |
|
บทความ ดวงจีน ตอนที่ 3 (23/07/2548) การนับวันเวลา ตอนที่ 3 (23/07/2548) สองตอนที่แล้วเราได้พูดคุยถึงองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการดูดวงจีน ก็คือรหัสบนและรหัสล่าง ทั้งความหมาย อิมเอี๊ยง ความสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งทุกท่านที่สนใจที่จะศึกษาจำเป็นต้องจำให้ขึ้นใจให้ได้ ถึงแม้จะน่าเบื่อซักแค่ไหนก็ต้องจำให้ได้ครับ วันนี้เราต้องมาต่อยาขมหม้อต่อไปก็คือเรื่องของ การนับวันเวลา ซึ่งจะแตกต่างจากที่เราเคยเห็นคนจีนนับกัน อย่างเช่นวันนี้เป็นยี่ง่วยชิวซา(เดือนสองวันที่สาม) ซึ่งเป็นการนับแบบจันทรคติ แต่การนับวันเดือนปีแม้แต่เวลาในดวงจีน เราใช้หลักจั๊บกะจื้อมาเป็นตัวนับและใช้24 สาร์ทมาเป็นตัวกำหนดเดือนและการเปลี่ยนปี อย่างเช่นทั่วไปเราจะบอกว่าพอเจี่ยง่วยชิวอิก(เดือนหนึ่งวันที่หนึ่ง)เป็นวันปีใหม่และเปลี่ยนสาร์ทนักษัตร์ของจีน แต่ในดวงจีนเราจะเปลี่ยนปีนักษัตร์กันในวันเปลี่ยนสาร์ทเดือนเป็นสาร์ทลิบชุน(ประมาณวันที่4-5 กุมภาพันธ์ของทุกปี) เพราะฉนั้นคนที่เกิดก่อนวันเปลี่ยนสาร์ทลิบชุน ก็ถือว่ายังเป็นปีเก่าอยู่ แล้วอะไรคือหลักจั๊บกะจื้อละครับ จริงๆแล้วก็คือการผสมรหัสบน 10 ตัว กับรหัสล่าง 12 ตัวมาจับคู่กัน อย่างรูปข้างบนที่แสดงให้เห็นนะครับ โดยเริ่มจากรหัสบนกะกับรหัสล่างจื้อ ตามด้วยรหัสบนอิกกับรหัสล่างทิ่ว รหัสบนเปี้ยกับรหัสล่างอิ้ง เรียงกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงคู่ที่60 ก็จะได้เป็น รหัสบนกุ่ยและรหัสล่างไห ถ้าจับ คู่ต่อไปก็จะเริ่มเป็นคู่กะจื้ออีกครั้ง เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกการจับคู่นี้ว่าหลักจั๊บกะจื้อไงครับ ไม่ว่าจะเป็นปี หรือ เดือน หรือวัน หรือยามของดวงจีนล้วนแต่ใช้หลักจั๊บกะจื้อมานับทั้งสิ้น ทีนี้คุณๆทั้งหลายที่รักจะเรียนดวงจีน ก็ต้องควักกระเป๋าเพื่อซื้อปฏิทินจีน 100 ปีซึ่งปัจจุบันมีคนทำออกมาขายกันหลายสำนักพิมพ์ มีขายตามร้านหนังสือทั่วๆไปหาซื้อไม่ยากครับ
|