ReadyPlanet.com
dot
ประวัติอาจารย์
dot
bulletประวัติอาจารย์หยังกง
bulletประวัติอาจารย์จางจื่อน่ำ
bulletประวัติอาจารย์ เซ้าคังเจี๋ย
dot
บทความของอาจารย์ท่านอื่นๆ
dot
bulletบทความ อ.เชียร บางบอน
bulletบทความ อ.ฮิม เมืองเลย
dot
รวมลิงค์
dot
bulletsanook.com
bulletpayakorn.com
bulletmeesook.com
bullethunsa.com
bulletpantip.com
dot
รับข่าวสาร

dot


Software บน Pocket PC / Plam




โรจน์ จินตมาศ

ดูดวง,โหราศาสตร์,ยูเรเนี่ยน,กาลโยค,พยากรณ์ฟุตบอล



บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 3 (03/07/2548) ปากั้ว(โป่ยข่วยหรือยันต์แปดทิศ) article
ตอนที่ 3 (03/07/2548)
     ผ่านมาสองบทความทั้งเรื่องของอิมเอี๊ยงและธาตุทั้งห้า คิดว่าคงจะเข้าใจและจำกันได้แล้วนะครับ มาคราวนี้เราจะเริ่มเรียนรู้เรื่องของปากั้ว(โป่ยข่วย)แหล่งกำเนิดทิศทางของพลังและการคำนวณ คุณเคยคิดบ้างไหมว่าปากั้ว(โป่ยข่วย)คืออะไรและมีกี่แบบ เคยสังเกตุไหมครับว่าบางทีเราเดินผ่านบ้านคนอื่นเห็นหน้าบ้านหรือตามทางสามแพร่งมีการแขวนกระจกรูปยันต์แปดทิศ(ปากั้ว) เขาแขวนกันทำไม แล้วยันต์ปากั้วแบบไหนที่ใช้แขวนกัน เอาละครับเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
     ปากั้ว: ปากั้ว(โป่ยข่วยหรือยันต์แปดทิศ)มีที่ที่มาของกั้ว เครื่องหมายและชื่อเรียกต่างๆดังนี้

ปากั้วแบ่งออกเป็นสองแบบได้แก่เซียนเทียนปากั้วและโฮ้วเทียนปากั้ว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
     เซียนเทียนปากั้ว: เป็นการนำปากั้วมาวางในตำแหน่งต่างๆ โดยจัดวางแบ่งเป็นสองซีกคือซีกที่กั้วเกิดจากเส้นเอี๊ยงและซีกที่กั้วเกิดจากเส้นอิม

     เซียนเทียนปากั้วเป็นเรื่องของความสมดุลในธรรมชาติ ได้แก่ฟ้าคู่กับดิน ภูเขาคู่กับทะเลสาบ น้ำคู่กับไฟ ลมคู่กับสายฟ้า โดยกั้วทั้งแปดมีความสัมพันธ์กันเช่นกั้วเฉียน(ฟ้า)สามเส้นเป็นเอี๊ยงหมด ตรงข้ามกันเป็นกั้วคุน(ดิน)สามเส้นเป็นอิมหมด ทำให้อิมเอี๊ยงเกิดความสมดุล ไม่ขาดไม่เกิน ยันต์ปากั้วที่เราเห็นแขวนตามบ้านหรือที่ต่างๆก็คือเซียนเทียนปากั้วนั้นเอง โดยความเชื่อที่ว่ายันต์ปากั้วนี้สามารถทำให้พลังที่ไม่ดีที่พุ่งใส่บ้านหรือพื้นที่ดังกล่าวสลายไปเกิดความสมดุลของพลังขึ้น
     ก่อนที่จะรู้ว่าโฮ้วเทียนปากั้วคืออะไร ต้องมาเรียนรู้เรื่องของตารางตัวเลขมหัศจรรย์กันก่อน มีอยู่ด้วยกันสองตารางคือเหอถูและลัวะซู ซึ่งตารางและตำแหน่งความหมายของเจ้าสิ่งนี้ถือว่าเป็นหัวใจในการศึกษาวิชาฮวงจุ้ยเลยทีเดียวนะครับ เอาละมาดูกันว่าตารางทั้งสองหน้าตาเป็นอย่างไร
     เหอถู: เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาฮวงจุ้ย ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

ความหมายของตัวเลขมีดังนี้
  • 1,6      คู่ ธาตุน้ำ   
  • 2,7      คู่ ธาตุไฟ 
  • 3,8      คู่ธาตุไม้   
  • 4,9      คู่ ธาตุทอง
  • 5,10    คู่ ธาตุดิน

     ลัวะซู:  เป็นตัวเลขอีกรูปแบบที่มีความสำคัญมากเหมือนกัน


 
     โฮ้วเทียนปากั้ว: เป็นการนำปากั้วมาวางในทิศต่างๆผสมกับตัวเลขในตารางลัวะซูเพื่อใช้คำนวนตำแหน่งและเวลา และหากระแสพลังชี่ของฮวงจุ้ย ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

     โฮ้วเทียนปากั้ว เมื่อนำมารวมกับลัวะซูแล้ว ตัวเลขต่างๆก็จะใช้แทนตัวกั้วและความหมายของกั้วในทิศนั้น เช่น ทิศเหนือเลข 1 หมายถึงค่ำกั้ว เป็นธาตุน้ำ ลูกชายคนรอง  สีฟ้า ไต กระเพาะปัสสวะ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เลข 8 หมายถึงกั้วเกิ้น เป็นธาตุดิน ลูกชายคนเล็ก สีเหลือง กระเพาะ ม้าม เป็นต้น

     รูปแบบสัญลักษณ์และชื่อเรียกของทิศต้องจำให้แม่น เพราะจะต้องใช้อีกมากในส่วนต่างๆของวิชาฮวงจุ้ย สัญลักษณ์ “”หมายถึงพลังเอี๊ยงและ “”   หมายถึงพลังอิม
     ธาตุและความหมายของปากั้ว

ชื่อกั้ว

ธาตุ

สี

บุคคล

 อวัยวะ

เฉียน ทอง ขาว แวววาว พ่อ   ศีรษะ ปอด
ค่ำ น้ำ ฟ้า ลูกชายคนรอง ไต หู มดลูก
เกิ้น  ดิน  เหลือง ลูกชายคนเล็ก กระเพาะ ม้าม
เจิ้น   ไม้   เขียว ลูกชายคนโต ตับ ดี
ซุ่น  ไม้ เขียว ลูกสาวคนโต ตับ ดี
หลี ไฟ  แดง ลูกสาวคนรอง หัวใจ ตา เลือด
คุน ดิน เหลือง แม่  กระเพาะ ม้าม
ต้วย  ทอง ขาว แวววาว    ลูกสาวคนเล็ก ปอด ปาก หลอดลม

     จะเห็นว่าเมื่ออิมกับเอี๊ยงมาบรรจบกันและเกิดความสัมพันธ์กันแล้ว เหมือนกับชายหญิงแต่งงานอยู่ด้วยกันก็จะให้กำเนิดลูกหลานออกมา ปากั้วก็ถือกำเนิดจากการที่อิมและเอี๊ยงมาผสมผสานกันขึ้นนั่นเอง จากอิมเอี๊ยงสองเปลี่ยนเป็นสี่ จากสี่เปลี่ยนเป็นแปด จากแปดเปลี่ยนเป็นสิบหก สิบหกเป็นสามสิบสอง  สามสิบสองเป็นหกสิบสี่..ไม่จบสิ้น แต่ในหลักฮวงจุ้ยที่ใช้กันนั้น จะใช้กันแค่หกสิบสี่คู่กั้วเท่านั้น ซึ่งหกสิบสี่คู่กั้วนั้นมีความสำคัญอย่างมากในการคำนวณพลังการแสชี่และการหาฤกษ์ยาม
     หกสิบสี่กั้ว : หมายถึงการนำเอาปากั้วมาผสมกันอีกครั้ง เช่นการนำเฉียนกั้วมาประกบคู่กับปากั้วก็จะได้เป็น

     กั้วใหม่ทั้งแปดนี้เป็นส่วนหนึ่งของหกสิบสี่คู่กั้ว โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือ สามเส้นล่างเป็นกั้วล่าง(ในที่นี้ก็คือเฉียนกั้ว) และสามเส้นบนเป็นกั้วบน(ปากั้ว) เพราะฉะนั้นถ้านำปากั้วที่เหลือมาทำวิธีเดียวกันก็จะได้กั้วใหม่อีกห้าสิบหกกั้ว รวมกันทั้งหมดก็จะได้เป็นหกสิบสี่กั้ว  ปากั้วที่เกิดขึ้นนี้แบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนที่เกิดจากเส้น “” (เอี๊ยง)ถือเป็นกั้วที่เกิดในส่วนที่เป็นเอี๊ยงได้แก่กั้วเฉียน ต้วย หลีและเจิ้น ส่วนที่เกิดจากเส้น  “”(อิม)ถือเป็นกั้วที่เกิดในส่วนที่เป็นอิมได้แก่กั้วซุ่น ค่ำ เกิ้น และคุน
     คราวนี้เขียนมามากพอสมควร คิดว่าทุกท่านคงต้องใช้เวลาหน่อยเพื่อทำความเข้าใจ ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทความในเรื่องต่อๆไป สุดท้าย “ขอพลังฮวงจุ้ยจงสถิตอยู่กับท่าน”



บทความ ฮวงจุ้ย

ฮวงจุ้ย ตอน ทำเลทอง article
ฮวงจุ้ย ตอน เบรคการลงทุนก่อนเจ๊ง article
ฮวงจุ้ย ตอน ทาวน์เฮาส์ข้างบ้าน article
ฮวงจุ้ย ตอน อาคารภาระ article
การเลือกที่ดินตามหลักฮวงจุ้ย article
ฮวงจุ้ย ตอน ตำแหน่งนี้ไม่มีคนต้องการ article
ฮวงจุ้ย ตอน บ้านใหม่ คนป่วย article
ฮวงจุ้ย ตอน ขี่ไม่มีทำให้บ้านร้าง article
รูปทรงสามเหลี่ยม article
หน้าบ้าน น่ามอง article
ชัยภูมิรอบข้าง article
บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 1 (15/06/2548) พื้นฐานของวิชา article
บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 2 (25/06/2548) รูปธรรม article
บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 4 (10/07/2548) กาลเวลาและดาวประจำยุค article
บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 5 (23/07/2548) ดาวบัณฑิต article
บทความ ฮวงจุ้ย ตอนที่ 6 (27/08/2548) บ้านแปดทิศ article
ฮวงจุ้ย 120 มังกร article